2007年6月7日木曜日
ภาษารูบี้ (Ruby) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่ได้รับอิทธิพลของโครงสร้างภาษามาจาก ภาษาเพิร์ลกับภาษา Ada มีความสามารถในเชิงวัตถุแบบเดียวกับ Smalltalk และมีความสามารถหลายอย่างจากภาษาไพธอน, Lisp, Dylan และCLU ตัวแปลภาษารูบีตัวหลักเป็นซอฟต์แวร์เสรี และเป็นตัวแปลแบบอินเตอร์พรีเตอร์
สารบัญ
ภาษารูบี้สร้างโดย Yukihiro Matsumoto หรือ "Matz" ซึ่งเริ่มพัฒนาเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 และออกรุ่นแรกสู่สาธารณะใน ค.ศ.1995 ชื่อ "รูบี้" ที่แปลว่า ทับทิม นั้นเป็นหินประจำเดือนเกิดของเพื่อนร่วมงานของ Matsumoto โดยรูบี้ไม่ได้ตั้งใจตั้งชื่อล้อกับ Perl (แปลว่า ไข่มุก) ซึ่งเป็นหินประจำเดือนมิถุนายน ในขณะที่ทับทิมเป็นหินของเดือนกรกฎาคม
รุ่นล่าสุดคือรูบี้คือ 1.8.4 ส่วน 1.9 นั้นกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา
ประวัติ
ประเด็นหลักในการออกแบบภาษารูบี้ของ Matz คือการทำให้โปรแกรมเมอร์มีความสุขโดยการลดงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะออกไป โดยเป็นไปตามหลักการของการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่ดี [1]Matz เน้นว่าการออกแบบระบบควรให้ความสำคัญกับความจำเป็นของมนุษย์มากกว่าความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์
บ่อยครั้งที่ผู้คนโดยเฉพาะวิศวกรคอมพิวเตอร์ เพ่งความสนใจไปที่เครื่องจักร พวกเขาคิดว่า "โดยการกระทำนี้ทำให้เครื่องจักรทำงานได้เร็วขึ้น โดยการกระทำนี้เครื่องจักรจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการกระทำนี้เครื่องจะทำบางอย่างๆๆ" พวกเขาพุ่งความสนใจไปที่เครื่องจักร แต่แท้ที่จริงแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องพุ่งความสนใจไปที่มนุษย์ ได้แก่ การสนใจ�! �่ามนุษย์เขียนโปรแกรมอย่างไร หรือใช้งานเครื่องจักรอย่างไร เราเป็นนาย เครื่องจักรที่เป็นทาส
กล่าวกันว่าภาษารูบี้ทำตามหลักการทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุด (principle of least surprise; POLS) ซึ่งหมายความว่าภาษาปกติแล้วควรมีลักษณะที่สอดคล้องกับสัญชาตญาณหรือเป็นไปตามสมมุติฐานที่โปรแกรมเมอร์ได้คาดไว้ วลีนี้ไม่ได้มีที่มาจาก Matz แต่พูดกันทั่วไป วิถีทางของภาษารูบี้อาจจะใกล้เคียงกับวลีว่า "การทำให้ Matz ประหลาดใจน้อยที่สุด" อย่างไรก็ตามโปรแกรมเมอร์หลายคนพบว่าการทำให�! �� Matz ประหลาดใจน้อยที่สุดก็ใกล้เคียงกับตัวแบบของจิตใจของพวกเขาด้วย
ในการให้สัมภาษณ์ Matz นิยามว่า "ทุกคนมีภูมิหลังของตนเอง บางคนอาจจะเคยใช้ภาษาไพธอน บางคนอาจจะเคยใช้ภาษาเพิร์ล พวกเขาอาจประหลาดใจโดยมีสาเหตุจากแง่มุมต่างๆ กันของภาษา จากนั้นพวกเขามาหาฉันและพูดว่า 'ฉันประหลาดใจเนื่องจากลักษณะพิเศษนี้ของภาษา ดังเมื่อมีเหตุการเช่นนี้ภาษารูบี้จึงละเมิดหลักการทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุด' ช้าก่อนๆ หลักการทำให้ประหลาดใ�! ��น้อยที่สุดไม่ใช่สำหรับทุกคน หลักการทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุดหมายถึงหลักการทำให้ "ฉัน" ประหลาดใจน้อยที่สุด และจะเป็นหลักการทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุดก็ต่อเมื่อคุณได้ศึกษาภาษารูบี้มาแล้วอย่างดี ตัวอย่างเช่น ฉันเคยเป็นโปรแกรมเมอร์ภาษาซีพลัสพลัสมา ก่อนที่ออกแบบภาษารูบี้ ฉันได้เขียนโปรแกรมภาษาซีพลัสพลัสเพียงภาษาเดียวมาสองหรือสามปี และหลังจากส! องปีนั้นภาษาซีพลัสพลัสก� ��ยังทำให้ฉันประหลาดใจอยู่"
การเก็บรวบรวม
Ruby on Rails
登録:
コメントの投稿 (Atom)
0 件のコメント:
コメントを投稿