2007年10月13日土曜日
Temperature Rising เป็นอัลบั้มเพลงสากลที่สอง ของนักร้องสาว ทาทา ยัง หลังจากความสำเร็จที่ได้รับจากอัลบั้มสากลล่าสุดคือ I Believe โดยมีการเปิดตัวด้วยเพลง El Nin-YO!
รูปแบบและเอกลักษณ์ของอัลบั้มนี้ มีความแตกต่างจากอัลบั้มที่แล้ว คือเป็นเพลงในแนว R&B มากขึ้น ดนตรีและเนื้อหา จะอิงไปทางนานาชาติมากขึ้น อัลบั้มนี้มีการนำเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ถึง 7 เพลง
อัลบั้มถูกวางจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 โดยในประเทศญี่ปุ่น ถูกวางจำหน่ายก่อนหนึ่งวัน(23 สิงหาคม) เนื่องจากการตอบรับของแฟนๆ และเป็นการขอบคุณการสนับสนุนจากอัลบั้ม I Believe
เพลงในอัลบั้ม
อัลบั้มถูกบรรจุด้วยซีดี และโบนัสวีซีดี โดยมีรายชื่อดังนี้
Disc 1
1. El Nin-YO! (Hiten Bharadia, Philippe-Marc Anquetil, Christopher Lee-Joe)
ควบคุมการผลิตโดย Christopher Lee-Joe and Philippe-Marc Anquetil
2. Back Outta This (Adam Anders, Nikki Hassman, Rasmus Bille Boehncke, Rene Tromborg, Samantha Jade)
ควบคุมการผลิตโดย Adam Anders and Nikki Hassman
3. I Want Some Of That (Diane Warren)
ควบคุมการผลิตโดย Alex Greggs and Danny O'Donoghue
ต้นฉบับดั้งเดิมโดย TLC (ไม่ได้ถูกวางจำหน่าย เนื่องจากการตายของ Lisa "Left-Eye" Lopes )
4. Come Rain Come Shine (Paul McCartney, Linda McCartney, Frank Lamboy, Andrew Wedeen)
ควบคุมการผลิตโดย Frank Lamboy and Andrew Wedeen.
ต้นฉบับดั้งเดิมโดย performed by Jenn Cuneta (single, 2005, US)
5. Uh Oh (Anthony Anderson, Dane DeViller, Sean Hosein, Rosette Sharma, Steve Smith)
ควบคุมการผลิตโดย Anthony Anderson and Steve Smith and Sean Hosein and Dane DeViller
ต้นฉบับดั้งเดิมโดย Rosette Sharma (Uh-Oh, 2005, Canada)
6. Betcha Neva (Alan Ross, David James, Natasha Bedingfield)
ควบคุมการผลิตโดย Alex Greggs and Danny O'Donoghue
ต้นฉบับดั้งเดิมโดย Cherie (Cherie, 2004, USA)
7. Zoom (Adam Anders, Nikki Hassman, Rasmus Bille Boehncke)
ควบคุมการผลิตโดย Adam Anders and Nikki Hassman
8. For You I Will (Diane Warren)
ควบคุมการผลิตโดย Christopher Lee-Joe & Philippe-Marc Anquetil
ต้นฉบับดั้งเดิมโดย Monica (Space Jam, 1997, USA)
9. I Must Not Chase the Boys
ควบคุมการผลิตโดย Alex Greggs and Danny O'Donoghue
ต้นฉบับดั้งเดิมโดย Play (Replay, 2003, Sweden)
10. I Guess I Never Knew My Baby (Arnthor, Bagge, Wayne Hector, Sebastian Nylund)
ควบคุมการผลิตโดย Alex Greggs and Danny O'Donoghue
11. Superhypnotic (Alex Cantrall, Lindy Robbins, Kenneth Karlin, Carsten "Soulshock" Schack)
ควบคุมการผลิตโดย Alex Greggs and Danny O'Donoghue
12. Mila Mila (Sandeep Chowta with English lyrics by Same Same)
ควบคุมการผลิตโดย Sandeep Chowta
ต้นฉบับดั้งเดิมโดย Anushka Manchandani (Super, 2005, India)
Disc 2
1. Making of El Nin-YO! เบื้องหลังการถ่ายทำมิวสิควิดีโอเพลง El Nin-YO!
2. El Nin-YO! Music Video มิวสิควิดีโอเพลง El Nin-YO!
3. Interview with Tata Young บทสัมภาษณ์ทาทา ยัง
4. Photo Gallery รวมภาพทาทา ยัง
พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์จีนกำลังภายใน เรื่อง Crouching Tiger, Hidden Dragon (ภาษาจีนกลาง : 臥虎藏龍) (พินอิน : Wòhǔ Cánglóng) นำแสดงโดย โจวเหวินฟะ, จางชิยี่, มิเชลล์ โหยว, เจิ้งเพ่ยเพ่ย กำกับโดย อั้งลี่ ออกฉายในปี พ.ศ. 2543
ปรากฎการณ์
Crouching Tiger, Hidden Dragon เป็นภาพยนตร์จีนกำลังภายในเรื่องแรกที่ฮอลลีวูดสร้างโดยร่วมกับทางไต้หวัน สร้างจากบทประพันธ์ดั้งเดิมของหวังตู้ลู่ โดยทีมงานใช้ชาวเอเชียล้วน ๆ เมื่อเข้าฉายในสหรัฐอเมริกาก็ได้สร้างปรากฎการณ์อย่างมาก เมื่อภาพยนตร์ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด ด้วยเป็นเพราะชาวตะวันตกไม่เคยได้ดูภาพยนตร์ในแนวนี้มาก่อน อีกทั้งฉากบู๊และคิวการต่อสู้ก็ทำได้ดี เป็นธรรมชาติ จนได้รับรางวัลออสการ์ถึง 4 รางวัลด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม, กำกับภาพยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และเมื่อฉายในอีกหลายประเทศก็ได้รับรางวัลมากมายเช่นกัน
Crouching Tiger, Hidden Dragon ถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงอย่างมากให้แก่ อั้งลี่ ผู้กำกับ ในระดับโลกอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นการแจ้งเกิดของ จางชิยี่ นักแสดงหญิงตัวเอกในเรื่องด้วย และเป็นการเปิดศักราชให้แก่ภาพยนตร์กำลังภายในอีกครั้ง หลังจากเงียบหายไปนับ 10 ปี เพราะหลังจากนี้ก็ได้มีภาพยนตร์กำลังภายในอีกหลายเรื่องทะยอยสร้างตามมาและเข้าฉายในต่างประเทศทั่วโลก แต่สำหรับในประเทศไทยแล้ว เมื่อภาพยนตร์เข้าฉายกลับไม่ประสบความสำเร็จมากนักเหมือนในหลายประเทศ อีกทั้งคำวิจารณ์ก็ยังมีทั้งในแง่บวกและแง่ลบด้วย อาจเป็นเพราะสำหรับคนไทยแล้วภาพยนตร์ในแนวนี้เป็นที่คุ้นเคยดีและภาพยนตร์ก็ยังไม่อาจทำได้ถึงระดับเหมือนภาพยนตร์กำลังภายในเรื่องก่อน ๆ
2007年10月12日金曜日
ส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
พระพุทธเจ้า ( Buddha) เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา พุทธศานาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า และกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและมีการสร้างพระพุทธเจ้าเพิ่มเติมขึ้นมาจนบางองค์มีลักษณะคล้ายเทพเจ้าของศาสนาฮินดู
ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่า พระพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสต์กาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล
คำที่ใช้กล่าวเรียกพระพุทธเจ้า
ในพระไตรปิฏกกล่าวว่า ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว 25 พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่ 25 และพระพุทธเจ้าองค์ถัดไปคือพระศรีอารยเมตไตรย ในทัสศนะเถรวาทถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ที่เหนือกว่าคนทั่วไปคือพระองค์พบทางดับทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง และเผยแพร่หนทางนั้นต่อสรรพสัตว์ ทรงเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ เมื่อทรงดับขันธปรินิพพาน คือดับไปโดยไม่เหลือเชื้อใดๆ ผู้จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องทำความดี (บารมี) มาในชาติก่อน ๆ นับชาติไม่ถ้วน (ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระโพธิสัตว์)
พระพุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายเถรวาท
ในพระไตรปิฎกจะแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าไว้ดังนี้ การแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าตามวิธีการสร้างบารมี,
ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ
ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ
วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ พระพุทธเจ้าในอดีต
นิกายมหายานยอมรับพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ฝ่ายเถรวาททั้งหมดและยังสร้างพระพุทธเจ้าอีกมากมาย ทั้งที่เป็นมนุษย์และมีสถานะเหมือนเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นิกายมหายานเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่ดับสูญแต่ไปประทับ ณ พุทธเกษตรซึ่งเป็นดินแดนที่งดงามกว่าสวรรค์ พระพุทธเจ้าตามคติมหายานแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
อาทิพุทธะ ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติมาพร้อมกับโลกและประทับอยู่กับโลกเป็นนิรันดร์ มีบทบาทคล้ายพระพรหมในศาสนาฮินดูที่เป็นผู้สร้างโลกและจักรวาล
พระมานุสสพุทธะ เป็นพระพุทธเจ้าที่อวตารมาจากอาทิพุทธะมาเกิดในโลกมนุษย์และบำเพ็ญเพียรในฐานะพระโพธิสัตว์จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อปรินิพพานแล้วจะไปอยู่กับอาทิพุทธะ คล้ายกับคติของศาสนาฮินดูที่เมื่อทำความดีถึงขั้นสูงสุดจะกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของมหาพรหม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจจุบัน ทางมหายานเรียกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้า เป็นพระมานุสสพุทธะด้วยเช่นกัน
พระธยานิพุทธะ เป็นพุทธะที่อวตารมาจากอาทิพุทธะเช่นกันแต่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌาน (ธยาน) ของอาทิพุทธะไม่ได้ผ่านการบำเพ็ญเพียรในโลกมนุษย์ พุทธะเหล่านี้ประทับบนสวรรค์ ในสภาวะกายทิพย์ มีเฉพาะพระโพธิสัตว์ที่มองเห็นได้
2007年10月10日水曜日
อรินทราช 26 เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สังกัด สปพ.191 ทำหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร ในงานด้าน อาชญากรรมร้ายแรง ชิงตัวประกันหรือต่อต้านการก่อการร้าย ลักษณะเหมือนหน่วย SWAT
ก่อตั้งหน่วยพร้อมกับหน่วยนเรศวร 26 ของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โดยมีประวัติความเป็นมาใกล้เคียงกับหน่วยปฏิบัตการพิเศษนเรศวร26 เพียงแต่สังกัดหน่วยงานต่างกัน
เจ้าจอมมารดาเขียน (พ.ศ. 2385 - พ.ศ. 2484) เจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอมมารดาเขียน เป็นธิดาของท่านอ้น และท่านอิ่ม สิริวรรณ เป็นหลานของ เจ้าจอมมารดางิ้ว (หม่อมงิ้ว ในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นพระมารดาของ สมเด็จพระนางนาฏโสมนัสวัฒนาวดี บรมอรรคราชเทวี ในรัชกาลที่ 4 โดย รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเกียรติยศให้ออกนามว่า "เจ้าจอมมารดางิ้ว" เป็นกรณีพิเศษในฐานะที่จะเป็นขรัวยายของเจ้าฟ้าโสมนัส ที่จะประสูติแต่สมเด็จพระนางนาฏโสมนัสฯ นอกจากนี้ พระยาราชภักดี (ทองคำ) พี่ชายของเจ้าจอมมารดางิ้วเป็นต้นตระกูลสุวรรณทัต)
เจ้าจอมมารดาเขียน มีนามเรียกขานทั่วไปว่า "เขียนอิเหนา" ด้วยเป็นละครหลวงที่รำเป็นตัว อิเหนา ได้งดงามไม่มีใครสู้ เป็นเจ้าจอมที่รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดมากท่านหนึ่ง เมื่อพระราชโอรสคือ พระองค์เจ้าวรวรรณากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ - 2404-2474) ประสูตินั้น รัชกาลที่ 4 พระราชทานกริชให้ นอกเหนือจากพระแสงดาบที่พระราชทานพระราชโอรสทุกพระองค์ โดยมีรับสั่งว่า "เป็นลูกอิเหนา"
2007年10月9日火曜日
ฟุตบอลทีมชาติเวียดนาม เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศเวียดนาม ควบคุมโดยสหพันธ์ฟุตบอลเวียดนาม ในปัจจุบัน ทีมชาติเวียดนามยังไม่มีผลงานระดับโลก หรือระดับเอเชีย เท่าไรนัก โดยผลงานที่ดีที่สุดในระดับอาเซียน คือรองชนะเลิศในไทเกอร์คัพ
ภายหลังจากเวียดนามแบ่งประเทศเป็น เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ได้มีทีมชาติเกิดขึ้นสองทีม ในขณะที่ฟุตบอลทีมชาติเวียดนามเหนือไม่ค่อยมีผลงานในทางฟุตบอลเท่าไร โดยเล่นกับทีมอื่นในชาติคอมมิวนิสต์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2499-พ.ศ. 2509 แต่เวียดนามใต้ ได้ร่วมเล่นในเอเชียนคัพและได้อันดับ 4 สองครั้ง และในปี พ.ศ. 2534 ทีมชาติเวียดนามได้ตั้งขึ้นภายหลังจากที่สองประเทศได้รวมกัน โดยรวมทีมเวียดนามใต้เข้ามา
ผลงาน
1930-1990 - ไม่ได้เข้าร่วม
1994-2006 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
อะกรีแบงก์คัพ - ชนะเลิศ - 2005
2007年10月6日土曜日
เด็กดีดอตคอม (Dek-D.com) เป็นเว็บไซต์ไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยกลุ่มนักเรียนชั้น มัธยศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประกอบไปด้วย ปกรณ์ สันติสุนทรกุล , วโรรส โรจนะ , สรวงศ์ ดารารช และ สุปิติ บูรณวัฒนาโชค ที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างเว็บไซต์สำหรับการพบปะพูดคุยของเพื่อนวัยเดียวกันจากโรงเรียนต่างๆได้มาพบเจอกัน และปัจจุบันเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม ได้จดทะเบียนดำเนินธุรกิจเวบไซต์และสื่ออินเตอร์เนตในนาม บริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ
2007年10月5日金曜日
ขี้เหล็ก เป็นสมุนไพรที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cassia siamea Lam. จัดเป็นพืชในวงศ์เลกุมมิโนเซ (Leguminosae) นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2485 ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของต้นขี้เหล็ก พบว่าใบและดอกขี้เหล็กทำให้เกิดอาการง่วงซึมและมีพิษน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่ได้ศึกษา ต่อมาจึงมีผู้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบขี้เหล็กอีกครั้งโดยใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าสามารถสกัดสารชนิดใหม่จากใบขี้เหล็กได้ โดยตั้งชื่อว่าบาราคอล (barakol)
2007年10月4日木曜日
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยาย (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล
ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม รักษาและการค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ ใช้เป็นเช่น
ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปล สื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้ง่าย
ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
การแพร่ขยายของโรคระบาด
การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน
การบุกรุกทำลาย
การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษบันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
จุด (point)
เส้น (arc)
พื้นที่ (polygon)
2007年10月2日火曜日
2007年10月1日月曜日
มอร์กอธ บาวเกลียร์(เดิมเป็นที่รู้จักในนาม เมลคอร์) เป็นตัวละครที่ถูกแต่งขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มอร์กอธเป็นชาว "ไอนู" ซึ่งเป็นเทพเจ้าเฉกเช่นวาลาร์ ในประวัติศาสตร์ของมิดเดิ้ลเอิร์ธ มอร์กอธมีบทบาทเป็นฝ่ายอธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่ง "เซารอน" เจ้าแห่งความมืดที่หลายคนรู้จักดีจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคยเป็นข้ารับใช้ของเขา
นาม มอร์กอธ บาวเกลียร์ ที่จริงแล้วเป็นชื่อฉายา ชื่อของเขาที่ปรากฏครั้งเเรกในไอนูลินดาเล (เรื่องราวของการสร้างมิดเดิ้ลเอิร์ธ เเละเป็นบทเเรกของ ซิลมาริลลิออน ) มีชื่อว่า เมลคอร์ ซึ่งหมายถึง ผู้ผงาดด้วยอำนาจ ส่วนคำว่า มอร์กอธ สามารถเเปลได้ว่า ทรราชเจ้าเเห่งความมืด หรือ ผู้กดขี่อันน่าสยดสยอง คำนี้มีที่มาจากภาษาเควนยาซึ่งหมายถึง ศัตรูมืด หรือ ความมืดอันน่าหวาดหวั่น (รากศัพท์มาจาก มอร์ - สีดำ ความมืด เงามืด และ กอส/กอธ -น่ากลัวมาก ความสยองขวัญ) ส่วนคำว่า บาวเกลียร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง ทรราช หรือ ผู้กดขี่ (รากศัพท์ MBAW - บังคับ พลังอำนาจ กดขี่)
ตัวละครนี้ไม่ได้ถูกเรียกว่ามอร์กอธจนกระทั่งเขาได้รับสมญานั้นจาก เฟอานอร์ แห่ง โนลดอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่หนึ่ง(First Age)หลังจากเมลคอร์หลบหนีออกจากวาลินอร์แล้ว และพวกเอล์ฟก็เรียกแต่ชื่อนั้นของเขา แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นเขาถูกเรียกเพียงว่า เมลคอร์
ระหว่างการพัฒนาการของตำนานของโทลคีน เขาได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการแปรพักตร์ของไอนูองค์นี้ และเปลี่ยนชื่อของเขาด้วย นอกเหนือจากชื่อพิเศษของเขาซึ่งชาวโนลดอร์ตั้งให้ (มอร์กอธ) เขายังถูกเรียกในตำนานต่างๆ(ในหลากหลายรูปแบบ)ว่า'เมลโค' 'เบลคา' 'เมเลกอร์' และ 'เมเลโค' ชื่อของเขาในรูปซินดารินคือ'เบเลกูร์' ซึ่งไม่เคยถูกใช้เลยนอกจากในคำที่แปลงรูปแล้วว่า 'เบเลกัวธ์' ซึ่งหมายถึง 'ความตายอันยิ่งใหญ่'
登録:
投稿 (Atom)