2007年7月22日日曜日
โคมูตร (๛) (อ่านว่า โค-มูด) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนโบราณ ใช้เมื่อเติมท้ายเมื่อจบบทหรือจบเล่ม พบได้ในหนังสือ หรือบทกลอนรุ่นเก่า ถ้าใช้คู่กับอังคั่นคู่และวิสรรชนีย์ จะเป็น อังคั่นคู่วิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ซึ่งหมายถึงจบบริบูรณ์
คำว่า โคมูตร นั้นมีความหมายว่า เยี่ยววัว หรือเยี่ยวโค ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน แต่ปรากฏในหนังสือรุ่นเก่าๆ จำพวกร้อยกรอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาสันสกฤต มีคำว่า โคมูตฺรก มีความหมายว่า "คล้ายรอยเยี่ยวโค" ลักษณะของเส้นที่คดไปมา หรือเส้นฟันปลา จึงเป็นไปได้ว่าเราน่าจะเรียกเครื่องหมายนี้ ตามอย่างหนังสือสันสกฤตมาตั้งแต่ครั้งโบราณ
ใน ประชุมลำนำ ของ หลวงธรรมามณฑ์ (ถึก จิตรถึก) เรียกเครื่องหมายนี้ว่า สูตรนารายณ์ ระบุการใช้ว่า ใช้หลังวิสรรชนีย์ (ที่ปิดท้ายสุด)
ในปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้ใช้เครื่องหมายโคมูตร อาจพบได้ในงานของกวีบางท่าน เช่น อังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เราสามารถพิมพ์เครื่องหมายโคมูตรจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ แม้บนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ภาษาไทย จะไม่มีเครื่องหมายโคมูตรก็ตาม นั่นคือ ให้กดปุ่ม Alt ค้าง แล้วพิมพ์ตัวเลข (ที่แป้นพิมพ์ตัวเลขด้านขวามือ) 251 ก็จะได้เครื่องหมาย ๛ ออกมา ดังนี้
อนึ่งโคมูตร ยังหมายถึง กลุ่มดาวในวิชาดาราศาสตร์ไทย เรียกว่าดาวฤกษ์มฆา ประกอบด้วยดาว 5 ดวง คือ ดาววานร ดาวงอน ดาวไถ ดาวงูผู้ และดาวมฆ หรือดาวมาฆะ (การเรียกกลุ่มดาวฤกษ์ของไทยนั้น นิยมเรียก เพียงแต่ดาว แล้วตามด้วยชื่อ ไม่เรียกว่า กลุ่มดาว อย่างวิชาดาราศาสตร์ในปัจจุบัน)
ตัวอย่าง
๏ จก ภพผุดท่ามเวิ้ง. วรรณศิลป์
จี้ แก่นชาติหวาดถวิล. เล่าไว้
รี้ รี้สั่งสายสินธุ์..... ครวญคร่ำ
ไร แก่นชีวิตไร้.... เร่งรู้พุทธธรรม ๚ะ๛
จาก เพียงครู่หนึ่งก็ม้วยเสมอฝัน ของ อังคาร กัลยาณพงศ์
登録:
コメントの投稿 (Atom)
0 件のコメント:
コメントを投稿