2007年8月14日火曜日


กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง และเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย
คำว่า กรุงเทพมหานคร ยังใช้เป็นคำเรียกสำนักงานปกครองท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย

ชื่อเมือง
กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกกันว่า "เมืองบางกอก" ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ แทนกรุงธนบุรี โดยสืบทอดศิลปวัฒนธรรมจากกรุงศรีอยุธยา ทรงทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก หรือตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 และพระราชทานนามพระนครนี้ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" ซึ่งมีความหมายว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้"
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น "จังหวัดพระนคร"
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ ประวัติ
กรุงเทพมหานครมีลักษณะเป็นเขตการปกครองพิเศษ (หนึ่งในสองเขต อีกแห่งคือ พัทยา) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง และมีการแต่งตั้งปลัดกรุงเทพมหานครร่วมบริหารงาน การดำเนินงานมีสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงทำงานร่วมด้วย
ผู้ว่าราชการคนปัจจุบัน คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และปลัดกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ นายพงศักติ์ฐ เสมสันต์
การปกครองในกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 50 เขตการปกครอง

ตราของกรุงเทพมหานคร เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)
ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร คือ ต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)
คำขวัญของกรุงเทพมหานคร :ช่วยชุมชนแออัด ขจัดมลพิษ แก้ปัญหารถติด ทุกชีวิตรื่นรมย์ การปกครอง

ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี
ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ จ.สมุทรปราการ
ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับ จ.ฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จ.นครปฐม และ จ.สมุทรสาคร กรุงเทพฯ อาณาเขตของกรุงเทพฯ
สถิติภูมิอากาศในกรุงเทพ

ภูมิอากาศ
กรุงเทพมหานครเป็นจุดท่องเที่ยวจุดหนึ่ง โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว พระที่นั่งอนันตสมาคม ตึกใบหยก 2 (ตึกระฟ้า สูงอันดับที่ 44 ของโลก)นอกจากนี้แหล่งช้อปปิ้งต่าง ๆ ได้แก่ ตลาดนัดจตุจักร มาบุญครอง สยามสแควร์ เยาวราช และแหล่งร้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ถนนข้าวสาร พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ได้แก่ ท้องฟ้าจำลอง นอกจากนี้ในกรุงเทพมหานครยังมีพื้นที่สีเขียวมากมาย สำหรับพักผ่อนหย่อนใจรวมทั้งใช้ออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ ซึ่งได้แก่ สวนหลวง ร.9 สวนเบญจสิริ สวนลุมพินี สวนจตุจักร เป็นต้น
ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณถนนราชดำเนินและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จะมีการจัดแต่งประดับไฟเพื่อเฉลิมฉลองอย่างสวยงาม นอกจากนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครฯเป็นศูนย์กลางทางความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การค้า การลงทุน และการปกครองในทุกๆ ด้านของประเทศจึงส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกอีกด้วย

สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน
เดิมทีกรุงเทพมหานครใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก โดยมีคลองมากจนได้ฉายาว่า เวนิซตะวันออก แต่ปัจจุบันบางแห่งได้มีการถมคลองเพื่อที่อยู่อาศัย การคมนาคมจึงเน้นหนักไปทางบกแทน
กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่การจราจรติดขัดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ได้มีการแก้ไขปัญหาการจราจรมากมาย เช่น การสร้างทางด่วน หรือรถไฟฟ้า ขึ้น
การคมนาคมในกรุงเทพฯ นั่นสามารถทำได้หลายทาง เช่น การนั่งรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) แท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง
รถโดยสารประจำทางจะมีหลายสายเพื่อเป็นการบริการประชาชน ให้บริการในราคาย่อมเยา สำหรับรถโดยสารประจำทางจะเริ่มต้นที่ 7 บาท สำหรับรถพัดลมของขสมก. และ 11 บาทสำหรับรถปรับอากาศ และ 12 บาทสำหรับรถโดยสารปรับอากาศแบบยูโร 2
การนั่งรถแท็กซี่ ค่าโดยสารจะเริ่มต้นที่ 35 บาท ในระยะ 2 กิโลเมตรแรก กิโลเมตรต่อไปจะราคา 4.50 บาท ไปจนถึง 10 กิโลเมตรแรก จากนั่น 20 กิโลเมตรขึ้นไป จะคิดกิโลเมตรละ 5.50 บาท
สำหรับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ราคาจะไม่แน่นอนแล้วแต่จุดที่จอด (วิน) โดยจะสังเกตได้จาก เสื้อกั๊กสีส้ม ของผู้ขับขี่

การคมนาคม
กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่

ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายเหนือ)
ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายตะวันออก)
ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายใต้) ทางรถยนต์
การเดินทางด้วยรถไฟสามารถทำได้ โดยมีสถานีรถไฟต้นทางสามแห่งคือ
ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแผนที่จะปรับปรุง สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ให้เป็นสถานีหลักเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้จะมีการเชื่อมโยง เส้นทางรถไฟทางไกลทั้งสามส่วนเข้าด้วยกัน ภายใต้โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดงเข้ม รังสิต - มหาชัย และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน - สุวรรณภูมิ)

สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) สำหรับเดินทางไปยัง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ตอนล่าง
สถานีรถไฟธนบุรี สำหรับเดินทางไปยัง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันตก
สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ สำหรับเดินทางเลียบปากอ่าวไทยไปยังปากน้ำท่าจีน และปากน้ำแม่กลอง ทางรถไฟ
เมื่อปี พ.ศ. 2542 โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS - ย่อมาจาก Bangkok Transit System) ได้เปิดใช้งาน ซึ่งเป็นรถไฟระบบรางคู่ที่สร้างบนทางยกระดับ ส่วนรถไฟใต้ดินได้เปิดบริการเมื่อปีพ.ศ. 2547 ในชื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT : Mass Rapid Transit)
ทางรถไฟฟ้า-ใต้ดินที่ดำเนินการในปัจจุบันมีดังนี้

รถไฟฟ้าบีทีเอส

  • สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน)
    สายสีลม (สีเขียวเข้ม)
    รถไฟฟ้ามหานคร

    • สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) ทางรถไฟฟ้าและใต้ดิน
      รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีสถานีหลักอยู่ที่

      สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หรือที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิตใหม่) สำหรับเดินทางขึ้นเหนือ ไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
      สถานขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) สำหรับเดินทางไปภาคตะวันออก
      สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บรมราชชนนี) สำหรับเดินทางลงใต้ ไปภาคใต้ และภาคตะวันตก ทางรถโดยสารประจำทาง
      รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ คือระบบขนส่งมวลชนใหม่ของกรุงเทพฯ มีลักษณะคล้ายกับรถประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ สายที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบันคือสาย ช่องนนทรี - ราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีหน้า

      ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ
      การเดินทางทางอากาศ ในอดีตได้ใช้สนามบินดอนเมือง (ท่าอากาศยานกรุงเทพ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ต่อมาได้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 03.00 น
      ในปัจจุบัน สนามบินดอนเมืองเป็นสนามบินสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศและเที่ยวบินในประเทศบางส่วน

      ทางน้ำ
      ปัญหาหลักในปัจจุบันของกรุงเทพมหานครก็คือการจราจรติดขัด มลพิษทางอากาศ และเมื่อปลายปี พ.ศ. 2549 เกิดเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานครหลายจุด

      มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพ
      กรุงเทพมหานครได้สถาปนาความสัมพันธ์ บ้านพี่เมืองน้อง กับหลายเมืองในหลายประเทศ

      สหรัฐอเมริกา วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา (2505)
      สาธารณรัฐประชาชนจีน ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (2536)
      ประเทศรัสเซีย มอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย (2540)
      ประเทศฟิลิปปินส์ มะนิลา ฟิลิปปินส์ (2540)
      ประเทศเกาหลีใต้ โซล เกาหลีใต้ (2549)
      ประเทศตุรกี อังการา ตุรกี (2549)

0 件のコメント: