2007年6月7日木曜日



ภาษารูบี้ (Ruby) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่ได้รับอิทธิพลของโครงสร้างภาษามาจาก ภาษาเพิร์ลกับภาษา Ada มีความสามารถในเชิงวัตถุแบบเดียวกับ Smalltalk และมีความสามารถหลายอย่างจากภาษาไพธอน, Lisp, Dylan และCLU ตัวแปลภาษารูบีตัวหลักเป็นซอฟต์แวร์เสรี และเป็นตัวแปลแบบอินเตอร์พรีเตอร์



สารบัญ
ภาษารูบี้สร้างโดย Yukihiro Matsumoto หรือ "Matz" ซึ่งเริ่มพัฒนาเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 และออกรุ่นแรกสู่สาธารณะใน ค.ศ.​1995 ชื่อ "รูบี้" ที่แปลว่า ทับทิม นั้นเป็นหินประจำเดือนเกิดของเพื่อนร่วมงานของ Matsumoto โดยรูบี้ไม่ได้ตั้งใจตั้งชื่อล้อกับ Perl (แปลว่า ไข่มุก) ซึ่งเป็นหินประจำเดือนมิถุนายน ในขณะที่ทับทิมเป็นหินของเดือนกรกฎาคม
รุ่นล่าสุดคือรูบี้คือ 1.8.4 ส่วน 1.9 นั้นกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา


�ภาษารูบี้
ประวัติ
ประเด็นหลักในการออกแบบภาษารูบี้ของ Matz คือการทำให้โปรแกรมเมอร์มีความสุขโดยการลดงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะออกไป โดยเป็นไปตามหลักการของการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่ดี [1]Matz เน้นว่าการออกแบบระบบควรให้ความสำคัญกับความจำเป็นของมนุษย์มากกว่าความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์
บ่อยครั้งที่ผู้คนโดยเฉพาะวิศวกรคอมพิวเตอร์ เพ่งความสนใจไปที่เครื่องจักร พวกเขาคิดว่า "โดยการกระทำนี้ทำให้เครื่องจักรทำงานได้เร็วขึ้น โดยการกระทำนี้เครื่องจักรจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการกระทำนี้เครื่องจะทำบางอย่างๆๆ" พวกเขาพุ่งความสนใจไปที่เครื่องจักร แต่แท้ที่จริงแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องพุ่งความสนใจไปที่มนุษย์ ได้แก่ การสนใจ�! �่ามนุษย์เขียนโปรแกรมอย่างไร หรือใช้งานเครื่องจักรอย่างไร เราเป็นนาย เครื่องจักรที่เป็นทาส
กล่าวกันว่าภาษารูบี้ทำตามหลักการทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุด (principle of least surprise; POLS) ซึ่งหมายความว่าภาษาปกติแล้วควรมีลักษณะที่สอดคล้องกับสัญชาตญาณหรือเป็นไปตามสมมุติฐานที่โปรแกรมเมอร์ได้คาดไว้ วลีนี้ไม่ได้มีที่มาจาก Matz แต่พูดกันทั่วไป วิถีทางของภาษารูบี้อาจจะใกล้เคียงกับวลีว่า "การทำให้ Matz ประหลาดใจน้อยที่สุด" อย่างไรก็ตามโปรแกรมเมอร์หลายคนพบว่าการทำให�! �� Matz ประหลาดใจน้อยที่สุดก็ใกล้เคียงกับตัวแบบของจิตใจของพวกเขาด้วย
ในการให้สัมภาษณ์ Matz นิยามว่า "ทุกคนมีภูมิหลังของตนเอง บางคนอาจจะเคยใช้ภาษาไพธอน บางคนอาจจะเคยใช้ภาษาเพิร์ล พวกเขาอาจประหลาดใจโดยมีสาเหตุจากแง่มุมต่างๆ กันของภาษา จากนั้นพวกเขามาหาฉันและพูดว่า 'ฉันประหลาดใจเนื่องจากลักษณะพิเศษนี้ของภาษา ดังเมื่อมีเหตุการเช่นนี้ภาษารูบี้จึงละเมิดหลักการทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุด' ช้าก่อนๆ หลักการทำให้ประหลาดใ�! ��น้อยที่สุดไม่ใช่สำหรับทุกคน หลักการทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุดหมายถึงหลักการทำให้ "ฉัน" ประหลาดใจน้อยที่สุด และจะเป็นหลักการทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุดก็ต่อเมื่อคุณได้ศึกษาภาษารูบี้มาแล้วอย่างดี ตัวอย่างเช่น ฉันเคยเป็นโปรแกรมเมอร์ภาษาซีพลัสพลัสมา ก่อนที่ออกแบบภาษารูบี้ ฉันได้เขียนโปรแกรมภาษาซีพลัสพลัสเพียงภาษาเดียวมาสองหรือสามปี และหลังจากส! องปีนั้นภาษาซีพลัสพลัสก� ��ยังทำให้ฉันประหลาดใจอยู่"



การเก็บรวบรวม

Ruby on Rails

0 件のコメント: