2007年9月30日日曜日

ฝัน (เพลง)
ความหมายอื่นของ ฝัน ดูที่ ความฝัน (แก้ความกำกวม)
หรือ Somewhere Somehow หรือ เพลินภูพิงค์ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒๘ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๐๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และนายศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ประพันธ์คำร้อง "ฝัน" ได้ พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรกในงานสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมี่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ และพระราชทานให้บรรเลงในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๙ เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ทรงประทับพระราชหฤทัยในความงามของอุทยานดอกไม้นานาพรรณและภูมิทัศน์โดยรอบ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานทำนองเพลงนี้ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค แต่งคำร้อง "เพลินภูพิงค์" ขึ้นอีกคำร้องหนึ่ง

เพลงพระราชนิพนธ์ Somewhere Somehow
คำร้อง: ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค
สมใจก่อนนี้เคยอยากชมเขางาม
ตาบหุบผาพงไพรได้มาเห็นภูพิงค์แพรวพราย
สมยจริงดอกไม้สะพรั่งบานทั้งปี
ดูหลากสีเรียงรายโชยกลิ่นหอมอวลอบชื่นใจ
ดุจจะลอยฟ้าดั่งทิพย์วิมานทอง
แห่งอินทร์พรหมสองเสกสนององค์ท้าวไท
แสนเพลินสุขสมสดับแต่เสียงเพลง
วิหคร้องมาไกลช่วยกล่อมขวัญทุกวันเพลิดเพลิน


สมใจก่อนนี้เคยอยากชมเขางาม
ยามอ่อนแสงรำไพได้ไปถึงดอยปุยเดียวดาย
สูงจริงเสียดฟ้าตระหง่านปานท้าลม
ชมยอดผาเรียงรายคราหมดแสงดวงสุริยา
ดุจจะลอยฟ้าอยู่ชิดเดือนเคียงดาว
โอ้ลมพัดหนาวรวดร้าวรานอุรา
แสนเพลินนั่งล้อมไฟอุ่นฟังเสียงเพลง
ชาวเผ่าเขาครวญมาสนุกเหลือไม่เบื่อภูพิงค์
สุขจริงหนามาเชียงใหม่แดนสรวงแสนเพลิน

2007年9月29日土曜日

พ.ศ. 414
พุทธศักราช 414 ใกล้เคียงกับ ก่อน ค.ศ. 130

วันเกิด

2007年9月28日金曜日


รัฐตริปุระ คือหนึ่งในเจ็ดรัฐทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีเขตติดต่อกับประเทศบังกลาเทศ 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ตะวันตก และใต้ ส่วนทางตะวันออกนั้นติดกับรัฐอัสสัมและรัฐมิโซรัม

กรณาฏกะ · เกรละ · กัว (โคอา) · คุชราต · ฉัตติสครห์ · ชัมมูและแคชเมียร์ · ฌาร์ขันท์ · ตริปุระ · ทมิฬนาฑู · นาคาแลนด์ ·รัฐตรีปุระ เบงกอลตะวันตก · ปัญจาบ · พิหาร · มณีปุระ · มหาราษฏระ · มิโซรัม · เมฆาลัย · มัธยประเทศ · ราชสถาน · สิกขิม · หรยาณา · หิมาจัลประเทศ · อรุณาจัลประเทศ · อานธรประเทศ · อุตตรขันท์ · อุตตรประเทศ · โอริสสา · อัสสัม

2007年9月27日木曜日


อาชญากรรม คือ การกระทำผิด โดยทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ บุคคล เป็นการเรียกการกระทำทางคดีอาญาแบบทั่วไป ตัวอย่าง อาญชกรรมอย่างเช่น การฆ่าคนตาย ปล้นทรัพย์ ข่มขืน ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปของทุกสังคมมักกำหนดบทลงโทษของผู้ก่ออาชญากรรม (เรียกว่า อาชญากร)
อาชญากรรม

2007年9月26日水曜日

ค.ศ. 737
พุทธศักราช 1280 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 737 - มีนาคม ค.ศ. 738
มหาศักราช 659 วันเกิด

2007年9月25日火曜日

สโมสรฟุตบอลโรมา
อาแอส โรม่า (A.S. Roma) (ชื่อเต็ม : Associazione Sportiva Roma) เป็นสโมสรฟุตบอลที่ตั้งอยู่ในกรุงโรม ในแคว้นลาซิโอ เช่นเดียวกับสโมสรลาซิโอซึ่งเป็นทีมร่วมเมือง โรม่าเป็นทีมขนาดใหญ่ทีมหนึ่ง ได้แชมป์เซเรียอา 3 สมัย โดยสมัยล่าสุดได้ในฤดูกาล 2000-2001 มีและมีนักเตะที่มีชื่อเสียงคนปัจจุบันคือ ฟรานเชสโก ต๊อตติ กองกลางตัวเก่ง ซึ่งเป็นกำลังหลักของสโมสรมาโดยตลอดตั้งแต่เล่นในสมัยเยาวชน
สโมสรฟุตบอลโรม่าก่อตั้งขึ้น ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1927 ก่อตั้งขึ้นที่หลังลาซิโอ ทีมคู่ปรับร่วมเมือง 27 ปี ซึ่งก่อนหน้านั้นในกรุงโรมมีสโมสรฟุตบอลต่างๆอีกมายมาย แต่สโมสรเหล่าโครงสร้างทางการเงินไม่ดีพอ รัฐบาลจึงได้ให้แต่ละเมืองมีสโมสรฟุตบอลหลักๆได้แค่สโมสรเดียว สโมสรเหล่านั้นจึงรวมตัวกันเป็นสโมสรฟุตบอลโรม่า

เกียรติประวัติ

กัลโช่ เซเรียอา (สคูเดตโต)

  • แชมป์ (3): 1941-1942, 1982-1983, 2000-2001
    รองแชมป์ (10): 1930-1931, 1935-1936, 1954-1955, 1980-1981, 1983-1984, 1985-1986, 2001-2002, 2003-2004, 2005-2006, 2006-2007
    โคปปา อิตาเลีย

    • แชมป์ (8): 1963-1964, 1968-1969, 1979-1980, 1980-1981, 1983-1984, 1985-1986, 1990-1991, 2006-2007
      รองแชมป์ (6): 1936-1937, 1940-1941, 1992-1993, 2002-2003, 2004-2005, 2005-2006
      ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า

      • แชมป์ (1): 2001
        รองแชมป์ (2): 1991, 2006
        ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก/ยูโรเปียนคัพ

        • รองแชมป์ (1): 1983-1984
          ยูฟ่าคัพ/แฟร์สคัพ

          • แชมป์ (1): 1960-1961
            รองแชมป์ (1): 1990-1991
            แองโกล-อิตาเลียโน่คัพ

            • แชมป์ (1): 1971-1972

2007年9月24日月曜日


หินหลอมเหลว หรือ ลาวา (อังกฤษ: lava) คือหินหนืด (magma) ที่เคลื่อนที่เข้าออกบนพื้นผิวโลก และหากหินหนืดเหล่านี้มีการเย็นตัวและตกผลึกบนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีภูเขาไฟ (extrusive rocks หรือ volcanic rocks)
ลาวา

2007年9月23日日曜日

พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี
พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี มีนามเดิมว่า บุญช่วย วณิกกุล (15 มิถุนายน พ.ศ. 2432 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 อดีตเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตประธานศาลฎีกา
บุญช่วย วณิกกุล เป็นบุตรคนสุดท้องของนายแสงและนางชื่น วณิกกุล เริ่มต้นการศึกษาที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ศึกษาต่อที่โรงเรียนราชวิทยาลัย สอบทุนเล่าเรียนหลวงได้เป็นที่ 1 เมื่อมีอายุเพียง 13 ปี 10 เดือน แต่ได้สละสิทธินั้นและสมัครเข้าเป็นนักเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม เพื่อศึกษากฎหมายไทยเสียก่อน และได้ไปศึกษาวิชากฎหมายที่สำนักเกรย์สอินน์ (Gray's Inn) ที่กรุงลอนดอน เมื่ออายุ 16 ปี พร้อมกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
บุญช่วย วณิกกุล จบการศึกษาสำนักเกรย์สอินน์ เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2452 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมชั้น 1 และเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งผู้พิพากษาในกองข้าหลวงพิเศษ และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข้าหลวงพิเศษยุติธรรมและกรรมการศาลฎีกาตามลำดับ
ในปี พ.ศ. 2466 ท่านได้โอนไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2471
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในคณะรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ท่านได้กราบถวายบังคมทูลขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่า พร้อมกับรัฐมนตรีในคณะคนอื่นๆ ซึ่งได้กราบถวายบังคมทูลขอลาออกพร้อมกันทั้งคณะ
พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างประมวลกฎหมาย เมื่อ พ.ศ. 2455 ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการชำระประมวลกฎหมาย และในปี พ.ศ. 2466
ในบั้นปลายชีวิต ท่านได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการถาวร ณ กรุงเฮก และได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาให้เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 สิริรวมอายุได้ 60 ปี 5 เดือน 3 วัน

2007年9月22日土曜日


?
ริโตนาเวียร์ มาช่วยกันเพิ่มเติมและแก้ไขกันเถอะ เพื่อให้บทความนี้น่าอ่านยิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่เริ่มต้นและนโยบายวิกิพีเดีย หรือภาษาอื่นด้านซ้ายมือ




ริโตนาเวียร์ (Ritonavir)


เอ็นอาร์ติ
เอ็นเอ็นอาร์ติ
พีไอ

2007年9月21日金曜日

ทาส
ทาส หมายถึง บุคคลซึ่งถูกนับสิทธิเสมือนสิ่งของของผู้อื่น ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิต และมีหน้าที่รับใช้ผู้อื่นโดยมิได้รับการตอบแทนจากเจ้าของ(นายทาส)เช่น การรับใช้ทางด้านแรงงาน และหากไม่เชื่อฟังคำสั่ง อาจถูกลงโทษได้ตามแต่นายทาสจะกำหนด ยกเว้นเป็นการกระทำอันทำให้ถึงแก่ความตาย

ชนิดของทาส
ในประเทศไทย ทาสได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด (ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา โดยในสมัยก่อนหน้านั้นยังเป็นข้อถกเถียงของนักวิชาการ) ได้แก่

ทาสสินไถ่- เป็นทาสที่มีมากที่สุดในบรรดาทาสทั้งหมด โดยเงื่อนไขของการเป็นทาสชนิดนี้ คือ การขายตัวเป็นทาส เช่น พ่อแม่ขายบุตร สามีขายภรรยา ดังนั้น ทาสชนิดนี้จึงเป็นคนยากจน ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวหรือตนเองได้ จึงได้เกิดการขายทาสขึ้น โดยสามารถเปลี่ยนสถานะกลับไปเมื่อมีผู้มาไถ่ถอน
ทาสในเรือนเบี้ย-เด็กที่เกิดขึ้นระหว่างที่แม่เป็นทาสของนายทาส ทาสชนิดนี้ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้
ทาสที่ได้รับมาด้วยมรดก - ทาสที่ตกเป็นมรดกของนายทาส เกิดขึ้นก่อต่อเมื่อนายทาสคนเดิมเสียชีวิตลง และได้มอบมรดกให้แก่นายทาสคนต่อไป
ทาสท่านให้ - ทาสที่ได้รับมาจากผู้อื่น
ทาสที่ช่วยไว้จากทัณฑ์โทษ - ในกรณีที่บุคคลนั้น เกิดกระทำความผิดและถูกลงโทษเป็นเงินค่าปรับ แต่บุคคลนั้น ไม่มีความสามารถในการชำระค่าปรับ หากว่ามีผู้ช่วยเหลือให้สามารถชำระค่าปรับได้แล้ว ถึอว่าบุคคลนั้น เป็นทาสของผู้ให้ความช่วยเหลือในการชำระค่าปรับ
ทาสที่ช่วยไว้ให้พ้นจากความอดอยาก - ในภาวะที่ไพร่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้ประกอบอาชีพได้แล้ว ไพร่อาจขายตนเองเป็นทาสเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากนายทาส
ทาสเชลย - ภายหลังจากได้รับการชนะสงคราม ผู้ชนะสงครามจะกวาดต้อนผู้คนของผู้แพ้สงครามไปยังเมืองของตน เพื่อนำผู้คนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้

2007年9月20日木曜日

X

2007年9月18日火曜日

ศาลปกครอง
ศาลปกครอง (Administrative Court) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา "คดีปกครอง" ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ
ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้่ระบบกล่าวหา ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"
ที่ทำการศาลปกครอง อยู่ที่อาคารเอ็มไพร์ ชั้น 33 เลขที่ 195 ถนนสาทรใต้ ตัดกับถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

ศาลปกครองชั้นต้น

  • ศาลปกครองกลาง มีอำนาจตัดสินคดีในเขตกรุงเทพมหานคร และอีก 7 จังหวัดใกล้เคียง หรือคดีที่ยื่นฟ้องที่ศาลปกครองกลาง
    ศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันมี 7 แห่ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก ระยอง และนครศรีธรรมราช
    ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจตัดสินคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง หรือคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

2007年9月15日土曜日


มหายมยักษ์ หรือ ศากยวงษา มหายมยักษ์ - พญายักษ์ ( อสูรพงศ์แห่งเมืองบาดาล )

มหายมยักษ์ ลักษณะและสี
สีแดงชาด ๑ หน้า ๒ มือ มงกุฏหางไก่

2007年9月14日金曜日


น้ำป่า หรือ น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) คือน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย

สาเหตุ
มาตรการป้องกันน้ำป่าได้แก่การไม่เข้าไปทำกิจกรรมในทางน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะในฤดูฝน หากสังเกตุเห็นว่าอาจมีฝนตกบนภูเขาให้รีบย้ายขึ้นที่สูงไว้ก่อน ในกรณีที่นำป่าเริ่มหลากลงมา แม้แลดูว่ายังตื้นเดินลุยหรือขับรถข้ามโดยง่าย ก็อย่าเสียง จงหลีกเลี่ยงรีบหันกลับขึ้นที่สูงอย่างรวดเร็วไว้ก่อนเพราะน้ำป่าประมาทมิได้
น้ำป่ามีอันตรายสูงยิ่งเนื่องจากเป็นการเกิดตามธรรมชาติโดยกระทันหันทันทีทันใด การนั่งอยู่ในรถเก๋งปิดกระจกเพราะเกิดความมั่นใจว่าปลอดภัยกว่าไม่อาจช่วยอะไรได้ รถจะลอยและถูกพัดพาไปอย่างรวดเร็ว ในต่างประเทศ การเสียชีวิตจากน้ำป่ามากกว่าครึ่งนั่งอยู่ในรถที่พยายามแล่นข้ามทางน้ำป่าที่ดูไม่ลึกมาก ระดับน้ำป่าที่สูงเพียง 15 เซนติเมตร สามารถพัดรถเก๋งขนาดย่อมไหลไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ

มาตรการหลีกเลี่ยง
ในสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตจากน้ำป่าเฉลี่ยปีละ 127 คน มากกว่าการถูกฟ้าผ่าตาย (73 คน) ทะเลทรายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐมีอันตรายมากที่สุดสำหรับรถยนต์ เนื่องจากเป็นที่แห้งแล้งห่างไกล ถนนที่สร้างตัดไปมาจึงไม่มีรางระบายน้ำหรือสะพาน จึงเป็นที่น่าทึ่งบ่อยครั้งว่า หลังฝนตกหนักเพียงไม่กี่นาที จู่ๆ ก็เกิดแม่น้ำขึ้นรอบๆ รถที่กำลังแล่นอยู่
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น มีพืชพรรณขึ้นปกคลุมป่าบนภูเขาหนาแน่นจึงดูดซับน้ำฝนที่ตกหนักไว้ได้มาก แต่การบุกรุกแผ้วถางป่าในช่วงกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ขีดความสามารถในการซับน้ำน้อยลง น้ำป่าน้ำหลากจึงเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น นอกจากนี้การตั้งถิ่นฐานของประชากรในลักษณะของชุมชนเกิดขึ้นกระจายตัวบนทางน้ำหลากมากขึ้น มีส่วนทำให้ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มและขึ้นรุนแรงมากขึ้นทุกปี

น้ำป่า ความเสียหาย
ประเทศไทยยังขาดกฎหมายควบคุมการใช้ที่ดินและนโยบายการตั้งถิ่นฐานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ยังไม่เคยมีข้อบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการใช้ที่ดินในเขตน้ำท่วม ยิ่งเป็นพื้นที่นอกเขตเมือง เช่นตามเชิงเขาด้วยแล้วก็ยิ่งไม่มีมาตรการที่ได้ผลใดๆ ใช้บังคับเพื่อป้องกันความเสียหายจากน้ำป่าน้ำหลาก นอกจากน้ำป่าแล้ว การเกิดแผ่นดินถล่ม (landslide) ยังเป็นปรากฏการควบคู่กันโดยธรรมชาติอีกด้วย การเกิดแผ่นดินถล่มและน้ำป่าที่รุนแรงและทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก เหตุที่น้ำป่าที่เกิดในประเทศไทยรุนแรงมากเนื่องจากมีแผ่นดินถล่มร่วมด้วย ประกอบกับการปลูกไม้ยางพาราหรือไม้ผลบนไหล่เขา ทำให้โครงสร้างทางธรณีวิทยาไม่มีความมั่นคง มีส่วนทำให้เกิดแผ่นดินถล่มพร้อมกับท่อนซุงหรือลำต้นของต้นไม้ไหลหลากประดังลงมาประทะบ้านเรือนเสียหายมากเป็นทวีคูณ

2007年9月13日木曜日

ปางลอยถาดปางลอยถาด
ปางลอยถาด เป็นอยู่ในพระอิริยาบถนั่งคุกเข่าทั้งสองลงกับพื้น พระหัตถ์ซ้ายวางที่พระเพลาข้างซ้ายเป็นอาการค้ำพระกายให้ตั้งมั่น ทอดพระเนตรลงต่ำ พระหัตถ์ขวาอยู่ในพระอิริยาบถยื่นถาดไปข้างหน้า ทำกิริยาวางลงในน้ำ

ประวัติ
หลังจากที่พระโพธิสัตว์เสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ทรงลอยถาดลงในแม่น้ำเนรัญชรา และได้อธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขอให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำ หากไม่สำเร็จสมประสงค์ ขอให้ถาดลอยไปตามกระแสน้ำ" ในพระพุทธประวัติกล่าวว่า ถาดนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป จนถึงวังน้ำวนแห่ง หนึ่ง จึงจมลงสู่นาคพิภพ ไปกระทบกับถาดสามใบของพระอดีตพุทธเจ้าสามพระองค์ พญานาคราชซึ่งกำลังหลับอยู่ในนาคพิภพ เมื่อได้ยินเสียงถาดกระทบกันจึงรู้ได้ทันทีว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นในโลกมนุษย์อีกพระองค์หนึ่งแล้ว (ในกัปปัจจุบัน หรือที่เรียกว่าภัทรกัปมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์คือ 1.พระกกุสันธะ 2.พระโกนาคมน์ 3.พระกัสสปะ ทั้งสามองค์นี้อาจเรียกว่า อดีตพุทธ 4.พระสมณโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันและ 5.พระศรีอริยเมตไตรยซึ่งเรียกว่าพระอนาคตพุทธเจ้า) และในพระพุทธประวัติตอนนี้เองที่บทบาทของ นาคได้เข้ามาร้อยเรื่องราวในพระพุทธศาสนาแล้ว ดังจะได้พบความเกี่ยวข้องกับนาคในพระพุทธประวัติตอนอื่นอีกเช่นกัน

2007年9月12日水曜日



มังกี้ ดี ลูฟี่ เป็นตัวละครหลักของการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง วันพีซ เขาคือกัปตันแห่งกลุ่มโจรสลัดหมวกฟาง

มังกี้ ดี ลูฟี่ ค่าหัว

30 ล้านเบรี หลังจากกำจัด บากี้ ดอนครีก และ อารอน
100 ล้านเบรี หลังจากกำจัด ครอกโคไดล์
300 ล้านเบรี หลังจากกำจัด CP9

2007年9月11日火曜日


สุริโยไท เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ดำเนินเรื่องผ่านคำบอกเล่าของ โดมิงโก ดือ ซีซัส (Domingos De Seixas) ทหารรับจ้างของชาวโปรตุเกส ผู้ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรอโยธยาช่วงพุทธศักราช 2067 ถึง 2092 โดยเน้นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตัวละครเอก คือพระสุริโยไท (สมเด็จพระสุริโยทัย) พระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
เรื่องราวเหตุการณ์ของแผ่นดิน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพระชนม์ชีพของพระสุริโยไท ตั้งแต่พระชนมายุ 15 พรรษา นับตั้งแต่เรื่องของความรักความผูกพัน การอภิเษกสมรส การย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ราชธานีชีวิตในราชสำนัก การดำรงรักษาสถานภาพ และเกียรติยศของพระราชวงศ์
ความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการสืบทอดราชสมบัติ ผลัดแผ่นดิน สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชน ซึ่งมีทั้งความเข้มแข็ง ความอ่อนแอ ความซื่อสัตย์จงรักภักดี ความทะเยอะทะยานมักใหญ่ใฝ่สูง ความเห็นแก่ตัว การแก่งแย่งแข่งดี และการเสียสละเพื่อความอยู่รอด
หมายเหตุ จากเดิม " สุริโยทัย " เปลี่ยนเป็น " สุริโยไท " ใช้ทั้งชื่อตัวละคร และชื่อภาพยนตร์ ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมของภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ และเป็นคำไทยโบราณที่ใช้ในยุคสมัยนั้น

สุริโยไท ข้อมูลจำเพาะ
อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2547 ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา ผู้กำกับชาวอเมริกัน ได้ตัดต่อและเพิ่มฉากใหม่เข้าไป เป็นฉบับใหม่สำหรับฉายในต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า " The Legend of Suriyothai "

ผู้กำกับ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ผู้อำนวยการสร้าง : หม่อมกมลา ยุคล
ตัดต่อ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ผู้กำกับกอง 2 : เปี๊ยก โปสเตอร์
ผู้ช่วยผู้กำกับ : สุรศักดิ์ วงษ์ไทย, ปิยะลักษณ์ มหาธนทรัพย์
คัดเลือกนักแสดง : อรชุมา ยุทธวงศ์
ผู้กำกับภาพ : Igor Luther, Stanislav Dorsic
ผู้จัดการกองถ่าย : คุณากร เศรษฐี
ผู้เขียนบท : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ผู้ให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ : .ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
ผู้ออกแบบฉาก : ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล
ผู้กำกับศิลป์ : เจษฎา ผันอากาศ, ประเสริฐ โพธิ์ศรีรัตน
ผู้กำกับดนตรี : Richard Harvey
แผนกเสื้อผ้า : ฐิติกรณ์ ศรีชื่น, สุกัญญา มะเรืองประดิษฐ์
ผู้บันทึกเสียง : Conrad Bradley Slater
เทคนิคพิเศษ : The Fame Post Production Co., Ltd.
แต่งหน้า & ออกแบบทรงผม : มนตรี วัดละเอียด

2007年9月8日土曜日

Universal 3D
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากว่ายังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม หรือไม่รู้วิธีอ่านในภาษาไทย
Universal 3D (U3D) คือรูปแบบไฟล์ของข้อมูล 3D ตามมาตรฐานของ W3C ซึ่งใช้มาตรฐานตาม Ecma International (Ecma-363) เริ่มต้นใช้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนามาตรฐานของ ข้อมูลของวัตถุสามมิติสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ปัจจุบัน อะโดบี แอโครแบต และ ไมโครสเตชัน รับรองการทำงานของไฟล์นามสกุล U3D และสนับสนุนโดยฮิตาชิ และ อินเทล โดยในโปรแกรมของ อะโดบี แอโครแบต 3D มีเครื่องมือในการแปลงไฟล์ โปรแกรมที่สำคัญต่างๆ รวมถึง ออโตแคด 3d แม็กซ์ ไลท์เวฟ มาเป็นไฟล์ U3D

2007年9月7日金曜日


วิทยาเขตกาญจนบุรี ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี วิทยาเขตนครสวรรค์ ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยรัฐของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุด โดยมีชื่อเสียงในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ดุริยางคศาสตร์ และสังคมศาสตร์เฉพาะด้าน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในแวดวงวิชาการอย่างมาก ซึ่งดูได้จากการที่มหาวิทยาลัยมีจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ จำนวนนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ มากที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศ และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดลมี 4 วิทยาเขต โดยตั้งอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดนครสวรรค์

ประวัติ
ตราประจำมหาวิทยาลัย
กันภัยมหิดล ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ตรามหาวิทยาลัย ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎภายใต้ จักรกับตรีศูล และอักษร ม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดย

  • พระมหาพิชัยมงกุฎ คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญ แสดงว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
    จักร กับ ตรีศูล คือ ตราเครื่องหมายประจำพระบรมราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
    อักษร "ม" มาจากคำว่า "มหิดล"
    ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานพระราชวินิจฉัยชี้ขาดให้ "ต้นกันภัยมหิดล" เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

    ทำเนียบอธิการบดี
    มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 551 สาขาวิชา ปัจจุบัน มีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้

    โรงเรียนราชแพทยาลัย การศึกษา

    บัณฑิตวิทยาลัย
    คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์
    คณะทันตแพทยศาสตร์
    คณะเทคนิคการแพทย์
    คณะพยาบาลศาสตร์
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    คณะเภสัชศาสตร์
    คณะวิทยาศาสตร์
    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    คณะศิลปศาสตร์
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
    คณะสัตวแพทยศาสตร์
    คณะสาธารณสุขศาสตร์
    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะ

    วิทยาลัยการจัดการ
    วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    วิทยาลัยนานาชาติ
    วิทยาลัยศาสนศึกษา
    วิทยาลัยราชสุดา
    วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัย

    สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้[1]
    สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน[2]
    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม[3]
    สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท[4]
    สถาบันวิจัยโภชนาการ[5]
    สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[6]
    สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว[7]
    สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์[8] สถาบันสมทบ

    วิทยาเขตกาญจนบุรี[9] เปิดสอน

    • หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และสาขาการจัดการทั่วไป
      หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี
      หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร และสาขาธรณีศาสตร์ โดยศึกษาวิชาพื้นฐานที่คณะวิทยาศาสตร์(ศาลายา) 1 ปี และศึกษาที่วิทยาเขตกาญจนบุรี อีก 3 ปี
      วิทยาเขตนครสวรรค์[10] เปิดสอน

      • หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และสาขาการจัดการทั่วไป
        หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย วิทยาเขต
        มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่บนพื้นที่ 4 แห่ง ได้แก่

        พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งออกได้ 4 บริเวณ ได้แก่

        • พื้นที่เขตบางกอกน้อย บริเวณโรงพยาบาลศิริราช เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์
          พื้นที่เขตบางพลัด บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี เป็นที่ตั้งของคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์
          พื้นที่เขตราชเทวี(ปกติจะนิยมเรียกว่า พญาไท มากกว่า)สามารถแบ่งออกเป็น 4 บริเวณ ได้แก่

          • บริเวณถนนพระรามที่ 6 เป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
            บริเวณถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
            บริเวณถนนศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์
            บริเวณถนนโยธี เป็นที่ตั้งของคณะทันตแพทยศาสตร์
            บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการจัดการ
            พื้นที่บริเวณจังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะเทคนิคการแพทย์ (อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (ภาควิชาพยาบาลศาสตร์) คณะวิทยาศาสตร์ (สถานที่สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 ในทุกสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์แสะเทคโนโลยี) คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาลัยราชสุดา และวิทยาลัยศาสนศึกษา
            พื้นที่บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ ณ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
            พื้นที่บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ ณ ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ วิทยาเขตและสถานที่ตั้ง
            มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัย โดยอาจจะแบ่งกลุ่มงานวิจัยออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และ้เทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม

            งานวิจัย
            ดูบทความหลักที่ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
            มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศ และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

            วันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล
            ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล
            คณาจารย์และบุคคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น

            สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงบุกเบิกการแพทย์แผนใหม่ในประเทศไทย ผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม 'มหิดล'
            ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์
            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี นักเรียนทุนอานันทมหิดล ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ ปี พ.ศ. 2526 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ

2007年9月6日木曜日

พ.ศ. 2472 เหตุการณ์

สงครามกลางเมืองในอัฟกานิสถาน วันเกิด

20 มีนาคม - เฟอร์ดินันด์ ฟอช ผู้บัญชาการทหารชาวฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (เกิด พ.ศ. 2394)
24 กันยายนสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย (พระราชสมภพ พ.ศ. 2434)

2007年9月5日水曜日

เภสัชกรรม
เภสัชกรรม(อังกฤษ:Pharmacy เป็นคำในภาษากรีกแปลว่ายา)หมายถึงวิชาชีพปรุงยาและจ่ายยา(medication) ปัจจุบันมีความหมายรวมถึงการดูแลผู้ป่วย(patient care)ซึ่งประกอบด้วย
หน้าที่เหล่านี้ถูกกำหนดเป็นกฎหมายของประเทศต่างๆ ดังนั้นเภสัชกร(Pharmacists)จึงต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้ยารักษาโรค และเป็นวิชาชีพในสาธารณะสุขพื้นฐานผู้ซึ่งจะบริหารและจัดการการใช้ยาของชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

การปฏิบัติการทางคลีนิค(clinical practice)
ประเมินและทบทวนการใช้ยา(medication review)
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยา(drug information) สัญลักษณ์ของเภสัชกรรม
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านเภสัชกรรมในประเทศไทยจะใช้เวลา 5-6 ปี เรียกว่าเป็นเภสัชกร (Pharmacist)และจะกระจายกันไปทำงานในสาขาต่างๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรมซึ่งประกอบด้วย

เภสัชชุมชน(Community Pharmacy)
เภสัชโรงพยาบาล(Hospital Pharmacy)
เภสัชอุตสาหกรรม(Industrial Pharmacy)
เภสัชนักวิเคราะห์(Analytical Pharmacy)
เภสัชการตลาด(Detailed Pharmacy)
เภสัชควบคุมอาหารและยา(Legal Pharmacy) สาขาวิชาวิชาชีพเภสัชกร
หลักสูตรเภสัชศาสตร์ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ ในปัจจุบัน คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต 5 ปี และหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี ดู คณะเภสัชศาสตร์

การแยกหน้ากันระหว่างสั่งยาและจ่ายยา
เภสัชชุมชนคือเภสัชกรที่ทำงานในร้านขายยาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนรอบร้านขายนั้น ซึ่งโดยทั่วไปเภสัชกรก็จะเป็นเจ้าของร้านขายยานั้นด้วยการทำงานของเภสัชกรในร้านขายยาจะมีลักษณะ 2 ส่วนที่ขัดแย้งกัน(dichotomy)คือ
จะเห็นว่าหน้าที่ 2 ส่วนคอนข้างขัดแย้งและสวนทางกันดังนั้นเภสัชกรที่ดี จะต้องบริหารความขัดแย้งนี้ให้อยู่ในภาวะสมดุลโดยใช้จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเป็นตัวควบคุมการปฏิบัติงานของเภสัชกรชุมชนในร้านขายยา ส่วนหนึ่งจะเป็นการขายยาตามใบสั่งแพทย์ และอีกส่วนหนึ่งคือการขายยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่รักษาโรคง่ายๆ เช่นเป็นไข้ปวดหัวตัวร้อน โดยทั่วไปร้านขายยาจะเป็นที่เก็บยาและจ่ายยาไปในตัวซึ่งทั้งหมดจะควบคุมโดยกฎหมายยาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ส่วนแรกคือความเป็นผู้มีวิชาชีพทางด้านสาธารณะสุขที่จะต้องบริการผู้ป่วยในเรื่องการใช้ยาอย่างถูกต้อง ถูกโรค มีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดที่สุด
ส่วนที่สองคือความเป็นเจ้าของธุรกิจร้านขายยาซึ่งจะต้องคำนึงถึงผลกำไร และความอยู่รอดของร้าน
มีสถานที่เก็บยาอย่างเหมาะสมถูกต้องและพอเพียง
ต้องมีอุปกรณ์และเครื่องมือในการปรุงยาและจ่ายตามที่กำหนด
ต้องมีห้องหรือสถานที่ที่ให้เภสัชกรใช้ปรุงยา จ่ายยา แนะนำผู้ป่วย ฝึกผู้ช่วยเภสัชกร
ต้องมีเภสัชกรอยู่ประจำร้านตลอดเวลาที่เปิดดำเนินการ
กฎหมายในบางประเทศระบุว่าผู้เป็นเจ้าของร้านขายยาต้องเป็นเภสัชกร(registered pharmacist) องค์กรวิชาชีพ

National Association of Boards of Pharmacy
Pharmacy Board of New South Wales
Pharmacy Board of Victoria (Australia)

2007年9月4日火曜日


พระราชอาสน์ เป็น วัตถุที่คู่องค์พระมหากษัตริย์สยามมาตั้งแต่สมัยโบราณ
พระที่นั่ง พระราชอาสน์ พระราชบัลลังก์ ที่สำคัญมีดังนี้:

พระที่นั่งบุษบกมาลา พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์
พระที่นั่งภัทรบิฐ กางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร คือฉัตรขาว 9 ชั้น ประดิษฐานอยู่ที่ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ด้วยเช่นกัน เป็นพระที่นั่งสำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จขึ้นประทับทรงรับเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องบรมราชูปโภคอันเป็นโบราณมงคล พระแสงอัษฎาวุธ และ พระแสงราชศาสตราวุธ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระที่นั่งภัทรบิฐ
พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ เป็นพระราชบัลลังก์ทองขนาดย่อม เมื่อมีพระราชพิธีจะเชิญมาทอดบนพระราชบัลลังก์ประดับมุกภายใต้พระนพปฏลมหาเศวตฉัตรอีกชั้นหนึ่ง ใน พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระมหากษัตริย์จะเสด็จขึ้นประทับบนพระราชบัลลังก์นี้ เพื่อเสด็จออกมหาสมาคมเป็นครั้งแรกในรัชกาลของพระองค์

พระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก
พระราชอาสน์ราชบัลลังก์ พระที่นั่งพุดตานถม เป็นพระราชอาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นศิลปกรรมเครื่องถมชิ้นเอกของประเทศไทย สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายโดยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นมาลาฐานหินอ่อน กางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร 9 ชั้น เป็นที่ประทับสำหรับพระมหากษัตริย์ ในโอกาสสำคัญ บ้างก็เสด็จประทับบนพระที่นั่งพุดตานถม บ้างก็เสด็จออกทรงยืนหน้าพระที่นั่งพุดตานถม เพื่อเสด็จออกให้คณะทูตานุทูตต่างประเทศ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระราชสาส์นตราตั้ง เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล หรือเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่นเมื่อตอนการประชุม APEC

2007年9月3日月曜日

ถนนพระรามที่ 6
ถนนพระรามที่ 6 (Thanon Rama VI) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกพงษ์พระราม แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน บริเวณใกล้วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองมหานาคเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกอุรุพงษ์) และทางรถไฟสายตะวันออก เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนราชวิถี (สี่แยกตึกชัย) ข้ามคลองสามเสน และเริ่มเลียบคลองประปาในพื้นที่แขวงสามเสนใน เขตพญาไท ตัดกับถนนนครไชยศรี (สามแยกโรงกรองน้ำ) ตัดกับถนนพระรามที่ 6 ซอย 34 และถนนพระรามที่ 6 ซอย 37 (สี่แยกพิบูลวัฒนา) ตัดกับถนนประดิพัทธิ์ (สี่แยกประดิพัทธิ์) จากนั้นไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนกำแพงเพชร ทางรถไฟสายเหนือ และถนนเทอดดำริ เข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จนถึงถนนเตชะวณิช (สามแยกวัดสะพานสูง)
ถนนพระรามที่ 6 เดิมชื่อ "ถนนประทัดทอง" สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "ประทัดทอง" นั้นจากชื่อเครื่องลายครามที่มีภาพต้นประทัดทอง ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นบรรทัดทอง
ครั้นมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประทัดทองตลอดทั้งสายเป็น "ถนนพระรามที่ 6" เพราะเป็นถนนที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงเป็นเส้นทางไปโรงกรองน้ำประปาสามเสน และต่อไปยังสะพานพระราม 6