2007年9月7日金曜日


วิทยาเขตกาญจนบุรี ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี วิทยาเขตนครสวรรค์ ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยรัฐของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุด โดยมีชื่อเสียงในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ดุริยางคศาสตร์ และสังคมศาสตร์เฉพาะด้าน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในแวดวงวิชาการอย่างมาก ซึ่งดูได้จากการที่มหาวิทยาลัยมีจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ จำนวนนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ มากที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศ และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดลมี 4 วิทยาเขต โดยตั้งอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดนครสวรรค์

ประวัติ
ตราประจำมหาวิทยาลัย
กันภัยมหิดล ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ตรามหาวิทยาลัย ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎภายใต้ จักรกับตรีศูล และอักษร ม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดย

  • พระมหาพิชัยมงกุฎ คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญ แสดงว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
    จักร กับ ตรีศูล คือ ตราเครื่องหมายประจำพระบรมราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
    อักษร "ม" มาจากคำว่า "มหิดล"
    ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานพระราชวินิจฉัยชี้ขาดให้ "ต้นกันภัยมหิดล" เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

    ทำเนียบอธิการบดี
    มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 551 สาขาวิชา ปัจจุบัน มีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้

    โรงเรียนราชแพทยาลัย การศึกษา

    บัณฑิตวิทยาลัย
    คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์
    คณะทันตแพทยศาสตร์
    คณะเทคนิคการแพทย์
    คณะพยาบาลศาสตร์
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    คณะเภสัชศาสตร์
    คณะวิทยาศาสตร์
    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    คณะศิลปศาสตร์
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
    คณะสัตวแพทยศาสตร์
    คณะสาธารณสุขศาสตร์
    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะ

    วิทยาลัยการจัดการ
    วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    วิทยาลัยนานาชาติ
    วิทยาลัยศาสนศึกษา
    วิทยาลัยราชสุดา
    วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัย

    สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้[1]
    สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน[2]
    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม[3]
    สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท[4]
    สถาบันวิจัยโภชนาการ[5]
    สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[6]
    สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว[7]
    สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์[8] สถาบันสมทบ

    วิทยาเขตกาญจนบุรี[9] เปิดสอน

    • หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และสาขาการจัดการทั่วไป
      หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี
      หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร และสาขาธรณีศาสตร์ โดยศึกษาวิชาพื้นฐานที่คณะวิทยาศาสตร์(ศาลายา) 1 ปี และศึกษาที่วิทยาเขตกาญจนบุรี อีก 3 ปี
      วิทยาเขตนครสวรรค์[10] เปิดสอน

      • หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และสาขาการจัดการทั่วไป
        หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย วิทยาเขต
        มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่บนพื้นที่ 4 แห่ง ได้แก่

        พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งออกได้ 4 บริเวณ ได้แก่

        • พื้นที่เขตบางกอกน้อย บริเวณโรงพยาบาลศิริราช เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์
          พื้นที่เขตบางพลัด บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี เป็นที่ตั้งของคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์
          พื้นที่เขตราชเทวี(ปกติจะนิยมเรียกว่า พญาไท มากกว่า)สามารถแบ่งออกเป็น 4 บริเวณ ได้แก่

          • บริเวณถนนพระรามที่ 6 เป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
            บริเวณถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
            บริเวณถนนศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์
            บริเวณถนนโยธี เป็นที่ตั้งของคณะทันตแพทยศาสตร์
            บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการจัดการ
            พื้นที่บริเวณจังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะเทคนิคการแพทย์ (อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (ภาควิชาพยาบาลศาสตร์) คณะวิทยาศาสตร์ (สถานที่สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 ในทุกสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์แสะเทคโนโลยี) คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาลัยราชสุดา และวิทยาลัยศาสนศึกษา
            พื้นที่บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ ณ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
            พื้นที่บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ ณ ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ วิทยาเขตและสถานที่ตั้ง
            มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัย โดยอาจจะแบ่งกลุ่มงานวิจัยออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และ้เทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม

            งานวิจัย
            ดูบทความหลักที่ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
            มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศ และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

            วันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล
            ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล
            คณาจารย์และบุคคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น

            สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงบุกเบิกการแพทย์แผนใหม่ในประเทศไทย ผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม 'มหิดล'
            ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์
            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี นักเรียนทุนอานันทมหิดล ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ ปี พ.ศ. 2526 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ

0 件のコメント: