2007年9月5日水曜日

เภสัชกรรม
เภสัชกรรม(อังกฤษ:Pharmacy เป็นคำในภาษากรีกแปลว่ายา)หมายถึงวิชาชีพปรุงยาและจ่ายยา(medication) ปัจจุบันมีความหมายรวมถึงการดูแลผู้ป่วย(patient care)ซึ่งประกอบด้วย
หน้าที่เหล่านี้ถูกกำหนดเป็นกฎหมายของประเทศต่างๆ ดังนั้นเภสัชกร(Pharmacists)จึงต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้ยารักษาโรค และเป็นวิชาชีพในสาธารณะสุขพื้นฐานผู้ซึ่งจะบริหารและจัดการการใช้ยาของชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

การปฏิบัติการทางคลีนิค(clinical practice)
ประเมินและทบทวนการใช้ยา(medication review)
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยา(drug information) สัญลักษณ์ของเภสัชกรรม
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านเภสัชกรรมในประเทศไทยจะใช้เวลา 5-6 ปี เรียกว่าเป็นเภสัชกร (Pharmacist)และจะกระจายกันไปทำงานในสาขาต่างๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรมซึ่งประกอบด้วย

เภสัชชุมชน(Community Pharmacy)
เภสัชโรงพยาบาล(Hospital Pharmacy)
เภสัชอุตสาหกรรม(Industrial Pharmacy)
เภสัชนักวิเคราะห์(Analytical Pharmacy)
เภสัชการตลาด(Detailed Pharmacy)
เภสัชควบคุมอาหารและยา(Legal Pharmacy) สาขาวิชาวิชาชีพเภสัชกร
หลักสูตรเภสัชศาสตร์ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ ในปัจจุบัน คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต 5 ปี และหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี ดู คณะเภสัชศาสตร์

การแยกหน้ากันระหว่างสั่งยาและจ่ายยา
เภสัชชุมชนคือเภสัชกรที่ทำงานในร้านขายยาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนรอบร้านขายนั้น ซึ่งโดยทั่วไปเภสัชกรก็จะเป็นเจ้าของร้านขายยานั้นด้วยการทำงานของเภสัชกรในร้านขายยาจะมีลักษณะ 2 ส่วนที่ขัดแย้งกัน(dichotomy)คือ
จะเห็นว่าหน้าที่ 2 ส่วนคอนข้างขัดแย้งและสวนทางกันดังนั้นเภสัชกรที่ดี จะต้องบริหารความขัดแย้งนี้ให้อยู่ในภาวะสมดุลโดยใช้จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเป็นตัวควบคุมการปฏิบัติงานของเภสัชกรชุมชนในร้านขายยา ส่วนหนึ่งจะเป็นการขายยาตามใบสั่งแพทย์ และอีกส่วนหนึ่งคือการขายยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่รักษาโรคง่ายๆ เช่นเป็นไข้ปวดหัวตัวร้อน โดยทั่วไปร้านขายยาจะเป็นที่เก็บยาและจ่ายยาไปในตัวซึ่งทั้งหมดจะควบคุมโดยกฎหมายยาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ส่วนแรกคือความเป็นผู้มีวิชาชีพทางด้านสาธารณะสุขที่จะต้องบริการผู้ป่วยในเรื่องการใช้ยาอย่างถูกต้อง ถูกโรค มีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดที่สุด
ส่วนที่สองคือความเป็นเจ้าของธุรกิจร้านขายยาซึ่งจะต้องคำนึงถึงผลกำไร และความอยู่รอดของร้าน
มีสถานที่เก็บยาอย่างเหมาะสมถูกต้องและพอเพียง
ต้องมีอุปกรณ์และเครื่องมือในการปรุงยาและจ่ายตามที่กำหนด
ต้องมีห้องหรือสถานที่ที่ให้เภสัชกรใช้ปรุงยา จ่ายยา แนะนำผู้ป่วย ฝึกผู้ช่วยเภสัชกร
ต้องมีเภสัชกรอยู่ประจำร้านตลอดเวลาที่เปิดดำเนินการ
กฎหมายในบางประเทศระบุว่าผู้เป็นเจ้าของร้านขายยาต้องเป็นเภสัชกร(registered pharmacist) องค์กรวิชาชีพ

National Association of Boards of Pharmacy
Pharmacy Board of New South Wales
Pharmacy Board of Victoria (Australia)

0 件のコメント: